พิธีแต่งงานแบบไทยเป็นพิธีกรรมที่งดงามและเปี่ยมไปด้วยความหมาย สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามของไทย
พิธีแต่งงานแบบไทยเป็นการผสมผสานระหว่างประเพณีและศาสนาที่สืบทอดกันมายาวนาน พิธีกรรมอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับภูมิภาคและความเชื่อของครอบครัว แต่โดยทั่วไปแล้วจะรวมถึงองค์ประกอบสำคัญดังต่อไปนี้:
- พิธีสงฆ์
พิธีสงฆ์เป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่จัดขึ้นก่อนพิธีอื่นๆ โดยคู่บ่าวสาวจะนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตคู่ ญาติผู้ใหญ่และแขกผู้มีเกียรติจะร่วมทำตักบาตรในช่วงเช้าก่อนเริ่มพิธีแต่งงานขั้นตอนต่อไป
- พิธีแห่ขันหมาก
พิธีแห่ขันหมากเป็นพิธีที่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะนำขันหมากซึ่งประกอบไปด้วยสิ่งของมงคลต่างๆ ไปสู่ขอเจ้าสาว ขบวนแห่ขันหมากจะเต็มไปด้วยสีสันและความสนุกสนาน บางประเพณีมีการร้องเพลง เต้นขบวนรถแห่เพลิดเพลินกันเลยทีเลย
- พิธีสู่ขอ
พิธีสู่ขอเป็นพิธีที่เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวจะกล่าวคำสู่ขอเจ้าสาวจากญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาว และมีการตกลงสินสอด ทองหมั้นให้เรียบร้อย
- พิธีรดน้ำสังข์
พิธีรดน้ำสังข์เป็นพิธีที่ผู้ใหญ่จะรดน้ำสังข์เพื่ออวยพรให้คู่บ่าวสาวมีความสุข ความเจริญในครองคู่ โดยเริ่มจากแขกผู้อาวุโส พ่อแม่ และเพื่อนๆ ตามลำดับ
- พิธีผูกข้อมือ
พิธีผูกข้อมือเป็นพิธีที่ผู้ใหญ่จะผูกข้อมือให้คู่บ่าวสาวเพื่อเป็นการอวยพรให้ชีวิตคู่มีความผูกพัน ขั้นตอนนี้นิยมเป็นพิธีแต่งงานทางภาคอิสาน
- พิธีรับไหว้
พิธีรับไหว้เป็นพิธีที่คู่บ่าวสาวจะกราบไหว้ญาติผู้ใหญ่เพื่อขอพร และมอบของขวัญหรือของรับไหว้ที่เตรียมไว้ให้กับแขกผู้ใหญ่ และพ่อแม่ของฝ่ายชาย ฝ่ายหญิงเพื่อแสดงการขอบคุณ
- พิธีส่งตัวเข้าเรือนหอ
พิธีส่งตัวเป็นพิธีที่ญาติผู้ใหญ่ฝ่ายเจ้าสาวจะส่งตัวเจ้าสาวให้กับเจ้าบ่าว โดยจะให้บ่าวสาวไปนอนที่เรือนหอหรือห้องหอที่จัดเตรียมไว้ จากนั้นผู้ใหญ่จะอวยพรให้ทั้งคู่มีลูกหลานเต็มบ้านเต็มเมือง
- พิธีเลี้ยงฉลอง
พิธีเลี้ยงฉลองเป็นพิธีที่จัดขึ้นเพื่อฉลองมงคลสมรสของคู่บ่าวสาว ญาติผู้ใหญ่และแขกผู้มีเกียรติจะร่วมรับประทานอาหารและร่วมแสดงความยินดีกับคู่บ่าวสาว